14 เหตุผล ที่ควรใช้ระบบประชุมออนไลน์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับคอนโดและหมู่บ้าน LIVLY Meet


การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในปัจจุบัน ทำให้คณะกรรมการบริหารนิติบุคคลที่พักอาศัย “ โยนโจทย์ ” ให้กับนิติบุคคลศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับระบบประชุมออนไลน์ สำหรับการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีให้กับท่านเจ้าของร่วม เพื่อตอบโจทย์ต่อสถานการณ์ และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสในที่พักอาศัย
รู้หรือไม่ จากผลสำรวจออนไลน์พบว่ามากกว่า 80% ของลูกบ้านมีความต้องการให้จัด ประชุมคอนโด หรือ ประชุมหมู่บ้าน ในรูปแบบออนไลน์ หรือประชุมแบบไฮบริด !
เนื่องจากการจัดประชุมแบบเดิมมีข้อจำกัด เรื่องการรวมกลุ่มขนาดใหญ่ ในสถานที่เดียวกัน เป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมง ซึ่งมีความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสสูง และไม่มีลูกบ้านท่านใดอยากให้เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 จนกลายเป็นคลัสเตอร์ในที่พักอาศัยตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพบว่าส่วนใหญ่ของผู้ติดเชื้อมาจากการสัมผัสใกล้ชิดของสมาชิกในครอบครัว
ในเมื่อปัจจุบันเราสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ ช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับนิติบุคคลคอนโดและหมู่บ้านในการจัดประชุมออนไลน์ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ลดข้อจำกัดในเรื่องสถานที่ให้ลูกบ้านเข้าร่วมประชุมจากที่ไหนก็ได้ ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมและองค์ประชุม รวมถึงการจัดประชุมออนไลน์ยังเข้ามาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ จากการจัดประชุมแบบเดิม และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาตอบโจทย์ คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://livly.app/advantages-onlinemeeting/
อย่างที่ทราบกันดีว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาหลายคนผ่านการทำงานแบบ New Normal ที่ต้อง Work From Home ตามมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม จนคุ้นเคยกับการประชุมออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มกันไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็น Zoom, MS Teams, Google Meet หรือ Line
ทำไม การประชุมผ่านแพลตฟอร์มทั่วไปไม่สามารถตอบโจทย์การ ประชุมคอนโด หรือ ประชุมหมู่บ้าน ?
วันนี้ LIVLY Specialist จะเล่าถึง 14 เหตุผลที่ควรใช้ ระบบประชุมออนไลน์ ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะคอนโด หมู่บ้าน กันค่ะ
การประชุมใหญ่นิติบุคคลคอนโดและหมู่บ้านถูกกำหนดให้จัดขึ้นตามกฎหมาย
การประชุมใหญ่นิติบุคคลคอนโดและหมู่บ้าน เป็นการประชุมที่กฎหมายกำหนดให้จัดขึ้นภายใน 120 นับแต่วันสิ้นรอบบัญชี ซึ่ง พรบ ว่าด้วยการจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 มีมาตรฐานการจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลทางกฎหมาย 7 ข้อดังนี้


อ้างอิง : ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.etda.or.th/th/newsevents/pr/e-Meeting.aspx
หากวิเคราะห์เปรียบเทียบทีละข้อระหว่างการประชุมผ่านวิดีโอคอลทั่วไป กับ การประชุมผ่าน LIVLY Meet จึงมีข้อแตกต่างดังต่อไปนี้
1) การแสดงตนของผู้ร่วมประชุมผ่าน ระบบประชุมออนไลน์ ก่อนการประชุม
การประชุมผ่านวิดีโอคอลทั่วไป : การแสดงตนของผู้เข้าร่วมประชุมมีหลายแนวทาง ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ 2 วิธีดังต่อไปนี้
1. ผู้เข้าร่วมประชุมเปิดกล้องทีละห้อง หรือพิมพ์ข้อความแสดงตนที่กล่องข้อความเพื่อเช็คชื่อ
วิธีนี้ไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งานสำหรับนิติบุคคลคอนโดและหมู่บ้าน ซึ่งโดยทั่วไปมีเจ้าของร่วมหลายยูนิต และไม่ได้เข้ามาพร้อมกันทั้งหมด
ตัวอย่างเช่น บางโครงการมีกว่า 1,800 ยูนิต หากต้องขานชื่อทีละห้องจนครบ อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าจะเสร็จสื้น ซึ่งยังไม่นับรวมการที่ผู้เข้าร่วมประชุมเข้ามาเรื่อยๆตลอดระยะเวลาการประชุม หากต้องแสดงตนผ่านการเปิดกล้อง หรือพิมพ์ที่กล่องข้อความทุกครั้งเมื่อมีผู้เข้าร่วมใหม่ ซึ่งอาจส่งผลให้การประชุมถูกขัดจังหวะอยู่ตลอดเวลา และดำเนินไปโดยไม่ราบรื่นเท่าไหร่นัก
2. นิติบุคคลหลายโครงการใช้วิธีการล่าลายเซ็นต์ของผู้เข้าร่วมประชุมภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม
การรวบรวมข้อมูลผู้เข้าร่วมประชุมภายหลังการประชุม ทั้งการล่าลายเซ็นต์เจ้าของร่วมที่เข้าร่วมประชุมออนไลน์ซึ่งอยู่ต่างสถานที่ โดยจำแนกรายละเอียดว่าเป็นห้องใด เข้ามาในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือผู้รับมอบฉันทะ เป็นเรื่องยากสำหรับนิติบุคคลในการติดตาม รวมถึงประเด็นเรื่องความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลที่ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
การประชุมผ่าน LIVLY Meet : ระบบมีการแสดงตนโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยพิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้เข้าร่วมประชุม โดยใช้ Username และ Password ร่วมกับรหัสผ่านใช้ครั้งเดียว (OTP) ซึ่งทำให้การทำงานของนิติบุคคลง่ายขึ้น และทำให้การประชุมใช้เวลาอย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2) การสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กันได้ด้วยเสียงหรือทั้งเสียงและภาพ
การประชุมผ่านวิดีโอคอลทั่วไป : แพลตฟอร์มการประชุมที่มีอยู่ในตลาดต่างมีศักยภาพในการถ่ายทอดภาพและเสียงที่มีประสิทธิภาพ และมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป แต่ทั้งนี้ในการเลือกแพลตฟอร์มเหล่านี้ แอดมินอยากให้ข้อสังเกตการเลือกใช้แพลตฟอร์มที่เป็นการถ่ายทอดภาพและเสียงแบบ Video Conferencing ไม่ใช่ Live Streaming ซึ่งมีข้อแตกต่างที่สำคัญดังนี้
Video Conferencing การสื่อสารแบบวิดีโอคอล
– การสื่อสารแบบระบบปิด โดยไม่เปิดให้คนภายนอกเข้าร่วมได้
– การสื่อสารสองทางของผู้เข้าร่วมประชุม
ตัวอย่างแพลตฟอร์ม เช่น LIVLY Meet ,Zoom, MS Teams, และ Google Meet เป็นต้น ใช้เพื่อสื่อสารภายในองค์กร หรือภายในกลุ่มที่ไม่ต้องการให้คนนอกเข้าถึงได้
ดังนั้นการประชุมผ่านระบบดังกล่าวจะให้ความเป็นส่วนตัวกับผู้เข้าร่วมชุม และเป็นการสื่อสาร 2 ทางที่สามารถตอบโต้กันแบบเรียลไทม์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Live Streaming
– การสื่อสารแบบเป็นสตรีมมิ่งสด เป็นการสื่อสารแบบระบบเปิด ที่อนุญาตให้ใครก็ได้สามารถเข้าร่วมประชุมหากอยู่ในแพลตฟอร์มดังกล่าว
– การสื่อสารทางเดียว ซึ่งผู้เข้าร่วมสามารถดูได้อย่างเดียว จะไม่สามารถมีส่วนร่วมในการประชุมได้ โดยที่ผู้เข้าร่วมจะไม่เห็นหรือได้ยินเสียงของคนที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยที่ผู้ชมใช้วิธีการส่งข้อความผ่านคอมเม้นท์
ตัวอย่างแพลตฟอร์ม เช่น Facebook และ Youtube เป็นต้น ใช้เพื่อต้องการถ่ายทอดสดกิจกรรมให้ผู้รับชมสามารถรับชม และเข้าถึงได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการ ไลฟ์สดขายของของพิมรี่พายผ่านเฟซบุ้ค หรือการไลฟ์สดการประกวด Miss Universe ผ่านยูทูป
ดังนั้นการสื่อสารผ่านระบบดังกล่าวจะไม่มีความเป็นส่วนตัว และเป็นการสื่อสารทางเดียว ซึ่งไม่เหมาะกับการประชุมใหญ่ของนิติบุคคลคอนโดและหมู่บ้านที่ต้องการความเป็นส่วนตัว และลูกบ้านมีความต้องการเปิดไมค์พูดคุย หรือถามคำถามในที่ประชุม
การประชุมผ่าน LIVLY Meet : LIVLY Meet เป็นการสื่อสารแบบ Video Conferencing ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อรองรับการประชุมนิติบุคคลคอนโดและหมู่บ้านทำให้
- การประชุมผ่าน LIVLY Meet เป็นการประชุมที่มีความเป็นส่วนตัวสูงสุด คนนอกไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้
- การสื่อสาร 2 ทางทั้งภาพและเสียงระหว่างผู้เข้าร่วมประชุม ไม่ว่าจะเป็น นิติบุคคล กรรมการ หรือลูกบ้านก็สามารถเปิดไมค์พูดคุยได้แบบเรียลไทม์ โดยไม่มีข้อจำกัด
นอกจากนี้ยังมีวิธีการในการจัดการสิทธิของผู้ร่วมประชุมผ่านฟังก์ชันยกมือ (Raise Hand)
3) การเข้าถึงเอกสารประกอบการประชุมของผู้ร่วมประชุม
การประชุมผ่านวิดีโอคอลทั่วไป : ระบบวิดีโอคอลทั่วไป ไม่มีฟังก์ชันแนบเอกสารประกอบการประชุม
การประชุมผ่าน LIVLY Meet : ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเปิดดูเอกสารประกอบการประชุม หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประชุมได้ผ่านแพลตฟอร์ม
4) การลงคะแนนของผู้ร่วมประชุม ที่สามารถระบุตัวผู้ลงคะแนนและเจตนาของผู้ลงคะแนน
การประชุมผ่านวิดีโอคอลทั่วไป : ผู้เข้าร่วมประชุมอาจใช้วิธีพิมพ์ที่กล่องข้อความ หรือเปิดไมค์เพื่อแสดงเจตนาการลงคะแนน ต้องเสียเวลารวบรวมคะแนนเสียงในแต่ละวาระให้ครบทุกห้อง ซึ่งส่งผลให้การประชุมยืดเยื้อได้
การประชุมผ่าน LIVLY Meet : ระบบออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระ โดยผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเลือกตัวเลือก ซึ่งถูกผูกกับเลขที่ห้อง โดยอัตโนมัติ ทำให้สามารถสรุปผลการลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระแบบเรียลไทม์ โดยที่ไม่ต้องเก็บข้อมูลการลงคะแนนเสียงทีละห้อง ทุกวาระ
5) การจัดเก็บข้อมูลหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผ่าน ระบบประชุมออนไลน์
การประชุมผ่านวิดีโอคอลทั่วไป : ระบบวิดีโอคอลทั่วไปไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการประชุมอย่างเป็นทางการ ที่ถูกกำหนดให้จัดขึ้นตามกฎหมาย
การประชุมผ่าน LIVLY Meet : ระบบจัดเก็บข้อมูลหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็น โดยมีรายงานอย่างเป็นทางการ เพื่อตอบโจทย์การประชุมนิติบุคคลคอนโดและหมู่บ้านโดยเฉพาะ ประกอบด้วยรายงานดังต่อไปนี้
- รายงานการเข้าออกระบบ
- รายงานสรุปผลการลงคะแนนเสียงรายวาระ
- รายงานสรุปผลการลงคะแนนเสียงรายบุคคล
- วิดีโอบันทึกการประชุม
6) การจัดเก็บข้อมูลจราจรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ร่วมประชุมทุกคนไว้เป็นหลักฐาน
โดยข้อมูลจราจรอิเล็กทรอนิกส์ อย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลหรือชื่อผู้ใช้งาน (Username) วันและเวลาของการเข้าร่วมประชุมและเลิกประชุมที่อิงกับเวลามาตรฐาน
การประชุมผ่านวิดีโอคอลทั่วไป : การจัดเก็บข้อมูลข้อมูลจราจรอิเล็กทรอนิกส์จะขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มที่เลือกใช้ ซึ่งบางแพลตฟอร์มไม่มีการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าว
การประชุมผ่าน LIVLY Meet : ระบบมีรายงานการเข้าออกระบบที่สามารถระบุตัวบุคคลหรือชื่อผู้ใช้งาน (Username) วันและเวลาของการเข้าร่วมประชุมและเลิกประชุมที่อิงกับเวลามาตรฐาน
7) การแจ้งเหตุขัดข้องในระหว่างการประชุม
การประชุมผ่านวิดีโอคอลทั่วไป : ผู้เข้าร่วมประชุมติดต่อนิติบุคคลเพื่อดำเนินการแก้ไขเหตุขัดข้อง
การประชุมผ่าน LIVLY Meet : ระบบมีช่องทางการแจ้งเหตุขัดข้อง เพื่อรองรับการแก้ไขเหตุขัดข้องแก่ผู้ร่วมประชุม ได้แก่ หมายเลขสำนักงาน, หมายเลขผู้เชี่ยวชาญระบบ (LIVLY Specialist), Facebook และ Line Official
กล่าวได้ว่าระบบประชุม LIVLY Meet ถูกออกแบบมาอย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ และผ่านการประเมินความสอดคล้องด้วยตนเองจาก สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมว่ามีมาตรฐานการประชุมในเรื่องทั่วไปเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.etda.or.th/th/Our-Service/e-meeting/announce.aspx
นอกจากนี้ระบบการประชุมและลงคะแนนเสียงออนไลน์ LIVLY Meet ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การประชุมนิติบุคคลคอนโด และหมู่บ้านโดยเฉพาะ ให้การทำงานของเจ้าหน้าที่นิติบุคคลกลายเป็นเรื่องง่าย และอำนวยความสะดวกให้เจ้าของร่วมประชุมออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ LIVLY Meet แตกต่างที่สำคัญจากการประชุมผ่านระบบวิดีโอคอลทั่วไป
8) องค์ประชุมและสรุปผลการลงคะแนนเสียงตามสัดส่วนกรรมสิทธิ์
การประชุมผ่านวิดีโอคอลทั่วไป : ระบบไม่ทราบสถานะองค์ประชุมซึ่งอาศัยจำนวนคะแนนเสียงตามสัดส่วนกรรมสิทธิ์ ว่าเพียงพอให้เปิดประชุมตามกฏหมายหรือไม่ ซึ่งกำหนดให้ต้องมีคะแนนเสียงจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของคะแนนเสียงทั้งหมด
นอกจากนี้ระบบประชุมทั่วไปจะเป็นการลงคะแนนเสียงแบบ 1 ต่อ 1 ซึ่งแตกต่างจากการประชุมคอนโด และหมู่บ้านที่เป็นการลงคะแนนเสียงตามสัดส่วนกรรมสิทธิ์หรือพื้นที่ห้อง/บ้าน
การประชุมผ่าน LIVLY Meet : ระบบออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการประชุมคอนโด และหมู่บ้านซึ่งมีจำนวนคะแนนเสียงตามสัดส่วนกรรมสิทธิ์หรือพื้นที่ห้อง/บ้าน ทำให้ทราบองค์ประชุมและผลการลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระได้แบบเรียลไทม์ทันทีที่ปิดวาระ
9) ระบบเชิญประชุมออนไลน์
การประชุมผ่านวิดีโอคอลทั่วไป : ระบบประชุมทั่วไปไม่รองรับการเชิญประชุมออนไลน์
การประชุมผ่าน LIVLY Meet : ระบบเชิญประชุมออนไลน์ที่ออกแบบให้เจ้าของร่วมสามารถตอบรับง่ายๆผ่านมือถือ เพื่อให้นิติบุคคลสามารถตรวจสอบจำนวนผู้ประสงค์เข้าร่วมประชุม และการมอบฉันทะ และเช็คจำนวนคะแนนเสียงครบองค์ประชุมแล้วหรือยัง หากยังไม่ครบจะต้องดำเนินการประชาสัมพันธ์เพิ่มหรือไม่ ที่ห้องใด ทำให้นิติบุคคลสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10) การตรวจสอบสิทธิการมอบฉันทะแบบอัตโนมัติ
การประชุมผ่านวิดีโอคอลทั่วไป : ระบบประชุมทั่วไปไม่รองรับการตรวจสอบสิทธิการมอบฉันทะ
การประชุมผ่าน LIVLY Meet : ระบบตรวจสอบจำนวนสิทธิ์การมอบฉันทะอัตโนมัติ ตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติ อาคารชุด พ.ศ. 2522 ” เจ้าของร่วมอาจมอบฉันทะเป็นหนังสือให้ผู้อื่นออกเสียงแทนตนได้ แต่ผู้รับมอบฉันทะคนหนึ่งจะรับมอบฉันทะให้ออกเสียงในการประชุมครั้งหนึ่งเกินสามห้องชุดมิได้
11) การแจ้งเตือนล่วงหน้าก่อนเข้าประชุม
การประชุมผ่านวิดีโอคอลทั่วไป : ระบบประชุมทั่วไปไม่รองรับการแจ้งเตือนล่วงหน้าก่อนเข้าประชุม
การประชุมผ่าน LIVLY Meet : ระบบแจ้งเตือนล่วงหน้าผ่านมือถือของท่านหากยังไม่ตอบรับการประชุม รวมถึงการแจ้งเตือนล่วงหน้าก่อนเข้าประชุม 15 นาที
12) รองรับการประชุมแบบไฮบริด
การประชุมผ่านวิดีโอคอลทั่วไป : ระบบประชุมทั่วไปไม่รองรับการประชุมแบบไฮบริด ทำให้นิติบุคคลต้องบริหารจัดการการประชุมโดยอาจต้องใช้มากกว่า 1 ระบบในการจัดประชุม ทำให้การประชุมบริหารจัดการยุ่งยาก
การประชุมผ่าน LIVLY Meet : ระบบรองรับการประชุมแบบไฮบริด ซึ่งเพิ่มทางเลือกให้กับเจ้าของร่วมสามารถเลือกเข้าร่วมประชุมได้ผ่านทางออนไลน์ หรือแบบออฟไลน์ ( การประชุมแบบพบหน้ากันแบบเดิม )
โดยระบบสามารถรองรับการเช็คองค์ประชุม การรวบรวมคะแนนเสียงจากทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ พร้อมรายงานที่เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อรองรับท่านเจ้าของร่วมที่ไม่ถนัดเทคโนโลยี แต่ก็ยังสามารถเข้าร่วมประชุมได้แบบเดิมโดยไม่มีข้อจำกัด
13) การตรวจสอบผลการลงคะแนนเสียงย้อนหลัง
การประชุมผ่านวิดีโอคอลทั่วไป : ระบบประชุมทั่วไปไม่รองรับการตรวจสอบผลการลงคะแนนเสียงย้อนหลัง ทำให้เจ้าของไม่สามารถเช็คการลงคะแนนเสียงของตนได้
การประชุมผ่าน LIVLY Meet : เมื่อเสร็จสิ้นการประชุม จะไม่มีผู้ใดสามารถแก้ไขการลงคะแนนเสียงของผู้เข้าร่วมประชุมได้ นอกจากนี้เจ้าของร่วมยังสามารถตรวจสอบผลการลงคะแนนเสียงของท่านย้อนหลังได้ผ่านแพลตฟอร์ม เพื่อเพิ่มความโปร่งใสของผลการลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระได้อย่างน่าเชื่อถือ
14) ผู้เชี่ยวชาญระบบพร้อมช่วยเหลือ
การประชุมผ่านวิดีโอคอลทั่วไป : ระบบประชุมทั่วไปไม่มีบริการผู้เชี่ยวชาญระบบพร้อมช่วยเหลือสนับสนุน รวมถึงกรณีเมื่อเกิดเหตุขัดข้อง
การประชุมผ่าน LIVLY Meet : ระบบบริการผู้เชี่ยวชาญระบบ (LIVLY Specialist) เข้าช่วยเหลือหลายรูปแบบดังนี้
- ทีมซัพพอร์ททางเทคนิคหากเกิดปัญหาหรือเหตุขัดข้อง
- ผู้เชี่ยวชาญระบบ (LIVLY Specialist) ช่วยเหลือผ่านออนไลน์
- ผู้เชี่ยวชาญระบบ (LIVLY Specialist) ช่วยเหลือที่โครงการ ณ วันประชุม
บทสรุป
การประชุมผ่านแพลตฟอร์มวิดีโอคอลทั่วไป เหมาะกับการประชุมแบบไม่เป็นทางการ ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนไม่มาก และรู้จักกันดีภายในองค์กร แต่การประชุมนิติบุคคลคอนโดและหมู่บ้านเป็นการประชุมที่มีความเฉพาะเจาะจง และเป็นการประชุมที่ต้องการผลบังคับใช้ทางกฎหมายซึ่งต้องนำไปยื่นกับกรมที่ดิน
ดังนั้นนิติบุคคลควรใช้ระบบประชุมออนไลน์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ สำหรับคอนโด และหมู่บ้านด้วย 14 เหตุผลที่กล่าวไว้ข้างต้น
LIVLY Meet ยังครอบคลุมการจัดประชุมคอนโดและหมู่บ้านตั้งแต่ต้นจนจบครบในที่เดียว ที่สำคัญยังช่วยลดระยะห่างทางสังคมแบบปลอดภัยไร้โควิดอีกด้วย (คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม)
ให้เราได้ช่วยให้การใช้ชีวิตในที่พักอาศัยของคุณสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
LIVLY Smart Living Platform
” Fulfill the meaning of your living life “